![]() |
![]() |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีสายพระเนตรกว้างและยาวไกล ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในปี พ.ศ. 2503 ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ปี พ.ศ. 2504 ทรงให้นำพรรณไม้จากภูมิภาคต่างๆ มาปลูกไว้ในสวนจิตรลดา เพื่อเป็นแหล่งศึกษา และทรงมีโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากร พัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาและการอนุรักษ์ดิน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ อันเป็นการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสืบทอดพระราชปณิธาน ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี พ.ศ. 2536 และดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในสถานการณ์ปัจจุบัน ทั่วโลกเล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังถูกคุกคามในหลายลักษณะ เช่น การเพิ่มจำนวนประชากรมนุษย์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นส่งผลให้ความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ทั้ง อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน และยารักษาโรค ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่สามารถส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ทั้งสิ้น ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวคือ มีความหลากหลาย ในระบบนิเวศ ความหลากหลายในชนิดพันธุ์ และความหลากหลายทางพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น มีพืชพรรณ ที่ศึกษาไม่ต่ำกว่า 20,000 ชนิด แบ่งเป็นเห็ดรามากกว่า 1,200 ชนิด ไลเคนส์มากกว่า 300 ชนิด เฟิร์น 633 ชนิด พืชที่มีท่อลำเลียงมากกว่า 10,000 ชนิด และกล้วยไม้มากกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งพบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น (ข้อมูลจาก อพ.สธ.) สิ่งเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยควรตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องการคุ้มครองและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพให้มีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเข้าร่วมสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยยึดมั่นในพระราชดำริ และดำเนินการตามกรอบแผนแม่บทของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นหลัก รวมถึงให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2559-2564) และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2559-2564)
วัตถุประสงค์หลักของโครงการวิจัย
|
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของแผนงานวิจัย
แผนงานวิจัยนี้ดำเนินการตามเป้าหมายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้
“เพื่อพัฒนาบุคลากร อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืช ให้เกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย” เป้าหมายคุณภาพ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็น “สถานอบรมสั่งสอนเบ็ดเสร็จ” มุ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง “เห็นความสำคัญของประโยชน์แท้” และ “ไม่จาริกในโมหภูมิ” ดำเนินการใดด้วย “ความเพียรอันบริสุทธิ์” และ “ปัญญาที่เฉียบแหลม” |
แผนงานวิจัยดำเนินงานตามเป้าหมายของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยมีกรอบความคิด ความเชื่อมโยงระหว่างโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย ดังนี้
|
โดยพระราชาณุญาต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ |
1 | อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ประธานกรรมการ |
2 | รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์
แผนการงบประมาณ และสุขภาวะ |
รองประธานกรรมการ |
3 | รองอธิการบดี ด้านการวิจัย | รองประธานกรรมการ |
4 | รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม | รองประธานกรรมการ |
5 | เลขานุการคณะกรรมการโครงการ อพ.สธ. | รองประธานกรรมการ |
6 | คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย | กรรมการ |
7 | คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ | กรรมการ |
8 | คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ | กรรมการ |
9 | คณบดีคณะครุศาสตร์ | กรรมการ |
10 | คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ | กรรมการ |
11 | คณบดีคณะจิตวิทยา | กรรมการ |
12 | คณบดีคณะนิติศาสตร์ | กรรมการ |
13 | คณบดีคณะรัฐศาสตร์ | กรรมการ |
14 | คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ | กรรมการ |
15 | คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | กรรมการ |
16 | คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ | กรรมการ |
17 | คณบดีคณะอักษรศาสตร์ | กรรมการ |
18 | คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ | กรรมการ |
19 | คณบดีสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร | กรรมการ |
20 | ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ และวิศวกรรมพันธุศาสตร์ |
กรรมการ |
21 | ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ | กรรมการ |
22 | ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม | กรรมการ |
23 | ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ |
กรรมการ |
24 | ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | กรรมการ |
25 | ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค | กรรมการ |
26 | ประธานคณะทำงานศูนย์ข้อมูลทรัพยากร | กรรมการ |
27 | ประธานคณะทำงานโครงการ อพ.สธ.-จฬ. | กรรมการ |
28 | ที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการ อพ.สธ.-จฬ. | กรรมการ |
29 | ที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการ อพ.สธ.-จฬ. | กรรมการ |
30 | เลขานุการคณะทำงาน อพ.สธ.-จฬ. | กรรมการและเลขานุการ |
31 | ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน อพ.สธ.-จฬ. | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
32 | ผู้ช่วยเลขานุการคณะทำงาน อพ.สธ.-จฬ. | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ |
หน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินงาน ได้แก่
คณะทำงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สนองพระราชดำริ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2565-2569) |
1 | อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ที่ปรึกษา |
2 | รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์
แผนการงบประมาณ และสุขภาวะ |
ที่ปรึกษา |
3 | รองอธิการบดี ด้านการวิจัย | ที่ปรึกษา |
4 | รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม | ที่ปรึกษา |
5 | คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ | ที่ปรึกษา |
6 | คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ | ที่ปรึกษา |
7 | รศ. ผุสตี ปริยานนท์ | ที่ปรึกษา |
8 | รศ. ดร. มาลินี ฉัตรมงคลกุล | ที่ปรึกษา |
9 | ผศ.ดร. พงชัย หาญยุทนากร | ประธานคณะทำงาน |
10 | ศ. ร.ต.อ.หญิง เภสัชกรหญิง ดร. สุชาดา สุขหร่อง | รองประธานคณะทำงาน |
11 | ศ. ดร. วรณพ วิยกาญจน์ | รองประธานคณะทำงาน |
12 | ผศ. ดร. นพดล กิตนะ | รองประธานคณะทำงาน |
13 | ศ. ดร. วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล | คณะทำงาน |
14 | ศ. ดร. สุชนา ชวนิชย์ | คณะทำงาน |
15 | ศ. ดร. จันทร์เพ็ญ จันทร์เจ้า | คณะทำงาน |
16 | รศ. ดร. ชัชวาล ใจซื่อกุล | คณะทำงาน |
17 | รศ. ดร. บัณฑิกา อารีย์กุล บุทเชอร์ | คณะทำงาน |
18 | ผศ. ดร. สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์ | คณะทำงาน |
19 | ผศ. ดร. ศานิต ปิยพัฒนากร | คณะทำงาน |
20 | ผศ. ดร. กรณ์รวี เอี่ยมสมบูรณ์ | คณะทำงาน |
21 | ผศ. ดร. วิเชฏฐ์ คนซื่อ | คณะทำงาน |
22 | ผศ. ดร. ชิดชัย จันทร์ตั้งสี | คณะทำงาน |
23 | ผศ. ดร. ธงชัย งามประเสริญวงศ์ | คณะทำงาน |
24 | ผศ. ดร. จิรารัช กิตนะ | คณะทำงาน |
25 | ผศ. ดร. พงชัย ดำรงโรจน์วัฒนา | คณะทำงาน |
26 | ผศ. ดร. ปรวีร์ พรหมโชติ | คณะทำงาน |
27 | อ. ดร. มารุต เฟื่องอาวรณ์ | คณะทำงาน |
28 | อ. ดร. เกรียง กาญจนวตี | คณะทำงาน |
29 | ดร. ธงชัย ฐิติภูรี | คณะทำงาน |
30 | ผศ.ดร. อัมพร วิเวกแว่ว | คณะทำงานและเลขานุการ |
31 | ผศ.ดร. นนทิวิชญ ตัณฑวนิช | คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ |
32 | อ. ดร. ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ | คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ |
หน้าที่ของคณะทำงาน ได้แก่
|