การฟื้นฟูแนวปะการังในธรรมชาติโดยใช้ตัวอ่อนปะการังที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์ในระบบเพาะฟัก – 2: ปัจจัยทางชีวภาพที่มีผลต่อการอนุบาลตัวอ่อนปะการังระยะหลังการปฏิสนธิและระยะหลังการลงเกาะในระบบอนุบาล

(Coral restoration by laboratory seeding – 2: Influence of biological factors on breeding larvae after fertilization and settlement stages)

รศ. ดร. วรณพ วิยกาญจน์

บทคัดย่อ


ทำการศึกษาปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ อาหาร และผู้ล่า ที่ส่งผลต่อพัฒนาการ และ/หรือ อัตรารอดของตัวอ่อนระยะหลังการลงเกาะบนพื้นผิวของปะการังเขากวาง Acropora millepora และ ปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora damicornis ที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์ในระบบเพาะฟัก ผลการศึกษาพบว่า ปะการังกินไรน้ำเค็ม Artemia salina ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการให้อาหารวันละครั้ง (ตอนกลางวัน หรือตอนกลางคืน) พบว่าปะการังทั้ง 2 ชนิด กินไรน้ำเค็มในช่วงเวลากลางวัน (เฉลี่ย 1.9-2.2 ตัว/โพลิป) มากกว่าเวลากลางคืน (เฉลี่ย 1.5-1.8 ตัว/โพลิป) นอกจากนั้น ผลการศึกษาการย่อยไรน้ำเค็มซึ่งให้เป็นอาหารพบว่า ปะการังทั้งสองชนิดใช้เวลาในการย่อยประมาณ 2.0 – 2.5 ชั่วโมง สำหรับการป้องกันผู้ล่าจากภายนอกโดยเฉพาะปลานั้น การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ปกคลุมมีค่าลดลงในชุดการทดลองที่ปราศจากการป้องกัน

คําสําคัญ: การฟื้นฟูปะการัง การเพาะขยายพันธุ์ปะการัง ปัจจัยทางชีวภาพ ปะการังระยะการลงเกาะบนพื้นผิว อาหาร ผู้ล่า

 

Abstract


The influence of biological factors such as food and predator on juvenile corals Acropora millepora and Pocillopora damicornis from sexual propagation technique were investigated. The results showed that corals fed on Artemia salina during the day and at night. However, when corals were fed twice, they consumed more A. salina during the day (average 1.9 - 2.2 individuals/polyp) compared to at night (average 1.5-1.8 individuals/polyp). In addition, the Artemia was digested by both coral species within 2.0 – 2.5 hours after feeding. Moreover, for rearing coral in natural water, the coral that had no protection (non-cage experiment) had lower percent coverage comparing to the treatment groups with cage.

Key words: coral restoration, cultivation, biological factors, settlement stage, food, predator

งานวิจัยทั้งหมดมีลิขสิทธิ์

ผู้ละเมิดจะได้รับโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย

โปรดติดต่อโครงการฯ เพื่อการอ้างอิงหรือเผยแพร่ก่อนทุกครั้ง

หน้าหลัก | ร้อยเรียงเรื่องราว | งานวิจัย | กิจกรรม