การคัดเลือกจุลชีพเพื่อใช้ในการควบคุมทางชีวภาพต่อแมลงศัตรูพืช
Screening for microbes as biocontrol agents for agricultural insect pests
อาจารย์ ดร.เกรียง กาญจนวตี
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพลี้ยไฟเป็นแมลงศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิดในหลายประเทศทั่วโลก ใช้การควบคุมทางชีวภาพ (biological control) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมประชากรเพลี้ยไฟโดยไม่พึ่งพาการใช้สารเคมีซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม โครงการวิจัยนี้ได้ทำการตรวจสอบในระดับโมเลกุลของดีเอ็นเอพบว่าเพลี้ยไฟที่พบในสวนกล้วยไม้มีความใกล้เคียงกับเพลี้ยไฟชนิด Megalurothrips usitatus  มากที่สุด โดยจากเชื้อราที่สามารถก่อโรคในเพลี้ยไฟทั้งหมด 29 isolate ได้เลือกเชื้อรา Purpureocillium sp. สายพันธุ์ FT11_2 ซึ่งมีแนวโน้มในการก่อโรคในเพลี้ยไฟที่พบในสวนกล้วยไม้ได้ดีที่สุดมาทำการทดสอบหาค่าความสามารถในการก่อโรคในห้องปฏิบัติการ พบว่าปริมาณสปอร์ทุกความเข้มข้น (105 106 และ 107 สปอร์) สามารถฆ่าพลี้ยไฟได้ใกล้เคียงกันระหว่าง 50.00 - 66.67% ภายใน 72 ชม ทั้งนี้ต้องทำการทดลองซ้ำเพื่อค่าค่าความสามารถในการก่อโรคที่แม่นยำต่อไป

คำสำคัญ: เพลี้ยไฟ, แมลงศัตรูพืช, การควบคุมทางชีวภาพ, เชื้อราก่อโรคในแมลง และ Megalurothrips usitatus 

งานวิจัยทั้งหมดมีลิขสิทธิ์ ผู้ละเมิดจะได้รับโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย โปรดติดต่อโครงการฯ เพื่อการอ้างอิงหรือเผยแพร่ก่อนทุกครั้ง