การกระจายตัวของนกในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชและพื้นที่ศูนย์ เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Bird distribution in plant genetic conservation areas and areas under the Center of Learning Network for the Region, Chulalongkorn University
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงชัย หาญยุทธนากร
และว่าที่ร้อยตรีศักรินทร์ แสนสุข
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากการสำรวจการกระจายตัว และความหลากหลายของนกใน 3 พื้นที่ ได้แก่ เกาะแสมสาร สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน และ โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี พบชนิดของนกที่สามารถจำแนกชนิดได้ในแต่ละพื้นที่จำนวน 86, 22 และ 102 ชนิด ตามลำดับ พื้นที่เกาะแสมสารจะมีอัตราส่วนของนกอพยพมากที่สุด คือ 49% ในขณะที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่านมีอัตราส่วนของนกอพยพ 10% ข้อมูลการกระจายตัวของนกในพื้นที่เกาะแสมสารแสดงให้เห็นว่านกมีการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งเกาะ ส่วนใหญ่จะสามารถพบนกในบริเวณของเกาะที่มีร่มเงา หรือบริเวณที่มีแหล่งน้ำจืด ในส่วนของข้อมูลการกระจายตัวของนกบริเวณพื้นที่ในจังหวัดสระบุรีและจังหวัดน่านนั้นยังต้องเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น

Bird distribution and diversity were studied in 3 areas, Samaesarn Island, Lai Nan Research and Technology Transfer Station (Lai Nan RTTS) and Chulalongkorn University. 98 species of birds were identified in this project,  84 on Samaesarn Island, 27 in Lai Nan RTTS. The proportion of migratory bird was the highest on Samaesarn Island (55%) compared with 4% in Lai Nan RTTS. The distribution data from Samaesarn Island showed that birds were not evenly dispersed. They were often found in shade areas or close to freshwater ponds. More distribution data in Lai Nan RTTS and CU-LDP were needed before any conclusion can be made.

Keywords : Bird distribution, Samaesarn Island, Lai Nan Research and Technology Transfer Station (Lai Nan RTTS), Chulalongkorn University Land Development Project (CU-LDP)

งานวิจัยทั้งหมดมีลิขสิทธิ์ ผู้ละเมิดจะได้รับโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย โปรดติดต่อโครงการฯ เพื่อการอ้างอิงหรือเผยแพร่ก่อนทุกครั้ง