อนุกรมวิธานของหอยขัดเปลือกวงศ์ Ariophantidae ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี: หมู่เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี และ เขาวังเขมร จังหวัดกาญจนบุรี

Taxonomy of the Common Land Snails Family Ariophantidae in the Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiation of Her Royal Highness Princess MahaChakriSirindhorn: Samaesarn Islands, Chonburi and Khao Wang Kamen, Kanchanaburi Provinces

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรศักดิ์สุจริต

บทคัดย่อ

จากผลการสำรวจตัวอย่างในพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร ทั้งหมด 5 เกาะ (เกาะแสมสาร เกาะจวง เกาะจาน เกาะคราม และเกาะอีร้า) พบกิ้งกือทั้งหมด 5 อันดับ 5 สปีชีส์ ถือว่ามีความหลากหลายในระดับอันดับของกิ้งกือค่อนข้างมาก แตกต่างกับการศึกษาโดยมากจะอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตบนเกาะทั่วไปมักจะมีจำนวนชนิดและความหลากหลายค่อนข้างจำกัด ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จากการสำรวจยังพบอีกว่าในจำนวนกิ้งกือทั้งหมดที่พบนี้เป็นชนิดพันธุ์จำเพาะถิ่น 2 สปีชีส์ และอีก 3 สปีชีส์เป็นกิ้งกือที่กระจายในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบได้ทั่วไปทั้งบริเวณแผ่นดินใหญ่และพื้นที่ที่เป็นเกาะ การศึกษาดีเอ็นเอบาร์โค้ดพบว่ามีค่าความแตกต่างทางพันธุกรรมของยีน COI ระหว่างสปีชีส์ของกิ้งกือที่พบบนหมู่เกาะแสมสารเฉลี่ยถึง 26.7 เปอร์เซนต์ และระหว่างประชากรสปีชีส์เดียวกันที่อาศัยอยู่คนละเกาะมีค่าเฉลี่ยที่ 5.3 เปอร์เซนต์


คำสำคัญ: กิ้งกือ หมู่เกาะแสมสาร ความหลากหลายทางชีวภาพ ดีเอ็นเอบาร์โค้ด

Abstract

The result of Samaesarn islands expedition (5 islands: Samaesarn, Juang, Jarn, Kram and Era), we found 5 orders and 5 species of millipedes. It shows that the islands have a great number of millipede order diversities compare with the limited and isolated area as the general characters of the island flora and fauna. Among 5 species discovered, 2 species are endemic organism found only on Samaesarn islands while the others are wide spread in southeast Asian countries both on the mainland and also the islands. The DNA barcoding results from COI gene showed 26.7% genetic divergent among species from the different orders and 5.3% intraspecific genetic differentiation.


Key words: millipedes, Samaesarn islands, biodiversity, DNA barcoding

วัตถุประสงค์

  1. ศึกษาความหลากสปีชีส์ของหอยขัดเปลือกวงศ์ Ariophantidae ในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริฯ: หมู่เกาะแสมสารจังหวัดชลบุรีและเขาวังเขมรจังหวัดกาญจนบุรี
  2. ปรับปรุงการจัดจำแนกสปีชีส์ของหอยขัดเปลือกด้วยข้อมูลกายวิภาคศาสตร์ระบบสืบพันธุ์และชีววิทยาโมเลกุล

าพ กลุ่มหอยขัดเปลือกสปีชีส์ที่พบเพิ่มเติมจากการศกษาครั้งนี้ A. Durgella sp. (เปลือกกว้างประมาณ
5 มม) B. Parmarion sp. (ตัวยาวประมาณ 40 มม) C. Sarika dugasti (เปลือกกว้างประมาณ 15 มม) D. Sarika limbata (เปลือกกว้างประมาณ 25 มม) E. Sarika heptagyra (เปลือกกว้างประมาณ 25 มม) F., G. และ H. Sarika pumicata (เปลือกกว้างประมาณ 25 มม) F และ G มีลักษณะของเปลือกทแตกต่างกัน เล็กน้อย และ H. แสดงการผสมพันธุ์

 

งานวิจัยทั้งหมดมีลิขสิทธิ์

ผู้ละเมิดจะได้รับโทษสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย

โปรดติดต่อโครงการฯ เพื่อการอ้างอิงหรือเผยแพร่ก่อนทุกครั้ง

หน้าหลัก | ร้อยเรียงเรื่องราว | งานวิจัย | กิจกรรม